วันพฤหัสบดีที่ 17 กันยายน พ.ศ. 2558

Diary Note 8 September 2015
Diary Note No.4

Substance

                                    

กิจกรรมพับกระดาษให้เกี่ยวข้องวิทยาศาสตร์สร้างสรรค์

  1. อาจารย์แจกกระดาษ A4 มาให้คนล่ะหนึ่งแผ่นจากนั้นนำเสนอรายบุคคล
ให้นักศึกษาสร้างชิ้นงานที่เกี่ยวกับวิทยาศาสตร์ซึ่งมาจากกระดาษที่ว่างเปล่าหนึ่งแผ่น
ซึ่งดิฉันได้สร้างกังหันลมและในความคิดของดิฉันกังหันลมสามารถนำมาสอนเด็กปฐมวัยได้เพราะในการสอนเด็กปฐมววัยเรางสามานรถสอนให้เด็กได้เห็นได้ลงมือทำและปฏิบัติ

  1. ลม (wind) หมายถึง อากาศที่เคลื่อนที่
  2. อากาศ (air) หมายถึง สิ่งทีีมองไม่เห็นแต่ มีตัวตน และต้องการที่อยู่ ซึ่งถ้าอากาศเคลื่อนที่จะกลายเป็นลม และลมก็จะทำให้เกิดพลังงาน (energy)
  3. แสง (light) จะไม่สามารถผ่านวัตุได้ จึงทำให้เกิดเป็นเงา ซึ่งแสงจะเดินทางเป็นเส้นตรง


ทฤษฏีของเพียเจต์ เด็กเรียนรู้ผ่านประสาทสัมผัสทั้ง 5
ขบวนการปรับเข้าสู่โครงสร้าง (Assimilation) หมายถึง การที่เด็กนำเอาความรู้ใหม่ เข้าไปผสมผสากลมกลืนกับครวามรู้เดิมที่มีอยู่
การจัดประขยายโครงสร้าง (Accommodation)  หมายถึง การนำความรู้ใหม่ที่ได้รับไปปรับปรุงความคิิดให็เข้ากับสภาพแวดล้อมได้อย่างเหมาะสม
Learning by Doing นักการศึกษาคือ John Dewy

เทคนิคการสอน (Technical Education)
อาจารย์ใช้เทคนิคการสอนที่หลากหลาย
มีการ Ask a question เพื่อให้นักศึกษาได้เกิดกระบวนการคิด
เริ่มจากหลักการ และนำมาสรุป

ทักษะที่ได้รับ (Gain Skills)
has been critical thinking skill
has been ask and answer skill
has been creative thinking skill

การนำความรู้ไปประยุกต์ใช้ (Adoption)
สามารถนำความรู้ที่ได้ไปประดิษฐ์ของเล่นในหน่วยวิทยาศตร์สำหรับเด็กปฐมวัยได้ รวมถึงหลักการสอนต่าง ๆ การบูรณการ อย่างไรเพื่อให้เด็กได้รับความรู้ในเรื่องของวิทยาศาสตร์

ประเมินอาจารย์ (Teaching Evaluationอาจารย์เข้าสอนตรงเวลา แต่งกายสุภาพเรียบร้อย เป็นตัวอย่างให้แก่นักศึกษา ในการสอนนั้นอาจารย์ได้เปิดโอกาสให้เด็กได้ตอบคำถาม และมีทักษะการสอนที่หลางหลาย

การเตรียมอุปกรณ์ในการทำกังหันลม

อุปกรณ์

1.กระดาษสี
2.ไม้ไผ่
3.หลอดกาแฟ
4.กาว

วิธีทำ

การเตรียมแกนมือ

นำไม้ไผ่ความยาวประมาณ 20 ซม. มาเหลาให้กลม โดยปรายด้านหนึ่ง ใหญ่กว่าปลายอีกด้านหนึ่ง โดยปลายด้านที่ใหญ่อาจจะมีเส้นผ่าศูนย์กลาง ประมาณ 3 มม. ปลายด้านเล็กอาจจะมีเส้นผ่าศูนย์กลาง 1.5-2 มม.

การเตรียมตัวกังหันกระดาษ
1.ทำได้โดยนำกระดาษสีที่เตรียมไว้ มาตัดให้เป็นรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัส เช่น ขนาด 10 ซม.


2.ใช้มีดหรือกรรไกรตัดตามแนวเส้นทแยงมุมเข้ามาจากมุมทั้ง 4 ด้าน จนถึงจุดที่ห่างจากจุดศูนย์กลางประมาณ 0.5 ซม. จากทุกด้านซึ่งจะทำให้ได้ลักษณะเป็นสามเหลี่ยม 4 อัน โดยแต่ละอันมีฐานอยู่ที่ด้านแต่ละด้านของสี่เหลี่ยมจัตุรัสเดิม แล้วตรงจุดกึ่งกลางนี้ เจาะรูกลมที่เสียบกับไม้แล้วหลวมๆ


3.เจาะรูที่มุมฐานสามเหลี่ยมๆ ละรู



นำหลอดกาแฟ ตัดเป็นรูปสี่เหลี่ยมขนาดเล็ก (ถ้าเป็นกระดาษแข็งอาจตัดเป็นรูปวงกลมก็ได้)จำนวน 2 แผ่น

การประกอบ
1.นำส่วนของหลอดกาแฟสี่เหลี่ยมที่เตรียมไว้เสียบทะลุแกนถือ ดันลึกเข้าไปประมาณ 3 ซม. ให้อัดแน่นกันแกนถือไว้
2.นำแผ่นกระดาษตัวกังหันที่เตรียมไว้ สอดใส่เข้าไปยังปลายแหลมของแกนถือ โดยผ่านรูของกระดาษที่เจาะเตรียมไว้
3.พับส่วนของสามเหลี่ยมที่มีรูมาเสียบเข้ากับแกนถือ เรียงกังไปจนครบทั้งหมด และติดกาวตามชั้นที่ซ้อนทับกัน


4.ท้ายที่สุดนำหลอดกาแฟที่เตรียมไว้อีกแผ่น มาเสียบอัดแน่นกับแกนถือ เหนือกังหันกระดาษอีกชั้นหนึ่ง
การเตรียมตัวกันเลื่อนของกันหัน
นำหลอดกาแฟ ตัดเป็นรูปสี่เหลี่ยมขนาดเล็ก (ถ้าเป็นกระดาษแข็งอาจตัดเป็นรูปวงกลมก็ได้)จำนวน 2 แผ่น

การประกอบ
1.นำส่วนของหลอดกาแฟสี่เหลี่ยมที่เตรียมไว้เสียบทะลุแกนถือ ดันลึกเข้าไปประมาณ 3 ซม. ให้อัดแน่นกันแกนถือไว้
2.นำแผ่นกระดาษตัวกังหันที่เตรียมไว้ สอดใส่เข้าไปยังปลายแหลมของแกนถือ โดยผ่านรูของกระดาษที่เจาะเตรียมไว้
3.พับส่วนของสามเหลี่ยมที่มีรูมาเสียบเข้ากับแกนถือ เรียงกังไปจนครบทั้งหมด และติดกาวตามชั้นที่ซ้อนทับกัน


4.ท้ายที่สุดนำหลอดกาแฟที่เตรียมไว้อีกแผ่น มาเสียบอัดแน่นกับแกนถือ เหนือกังหันกระดาษอีกชั้นหนึ่ง



วิธีเล่น
เด็กมักจะใช้ถือแล้ววิ่งปะทะกับลมทำให้กังหันกระดาษหมุนได้


ดูเพิ่ม http://www.trueplookpanya.com/new/cms_detail/knowledge/18929/






วันพุธที่ 2 กันยายน พ.ศ. 2558

                                                      สรุปบทความ

                            สอนเด็กปฐมวัยให้คิดเป็น – เปิดทำเนียบ ครูดีครูเด่น
สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยา ศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.) ได้ดำเนินโครงการบูรณาการวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ และเทคโนโลยีปฐมวัย ในรูปแบบของกิจกรรมบูรณาการสหวิชาให้เด็กได้เรียนรู้ผ่านการสืบเสาะหาความรู้ การคิด และลงมือแก้ปัญหาด้วยประสบการณ์ตรงอย่างเหมาะสมกับวัย และเป็นไปตามหลักการจัดการศึกษาปฐมวัย เหมือนอย่าง ครูพัชรา อังกูรขจร ครูชำนาญการ รร.บ้านแม่ละเมา ตำบลพะวอ อำเภอแม่สอด จังหวัดตาก ซึ่งเป็นวิทยากรแกนนำของ สสวท.ในการขยายผลอบรมครูในท้องถิ่น ได้นำแนวทางจาก สสวท.ไปจัดกิจกรรม “เด็กอนุบาลเรียนรู้วิทย์แบบบูรณาการจากการล่องแก่ง” ได้อย่างน่าสนใจ

ครูพัชรา เล่าว่า ได้รับการอบรมจาก สสวท. ไปขยายผลสู่พี่เลี้ยง และครูฝึกปฏิบัติการสอน รวมทั้งจัดอบรมให้ผู้ปกครองเรื่องการจัดประสบการณ์บูรณาการวิทยาศาสตร์ปฐมวัย หลังจากนั้นได้วางแผนการดำเนินงานร่วมกันในการกำหนดหน่วยการเรียนรู้และกำหนดตารางการปฏิบัติงานของพ่อครู แม่ครู

เมื่อวางแผนแล้วก็ไปสู่ขั้นตอนของการลงมือปฏิบัติ ซึ่งทั้งครูพัชรา ครูพี่เลี้ยง ครูปฏิบัติการฝึกการสอน พ่อครู แม่ครู ได้ช่วยกันจัดประสบการณ์การเรียนรู้โดยเน้นการคิดวิเคราะห์ ผ่านกระบวนการสืบเสาะ 4 ขั้นตอน และมีการนำผลการประเมินมาแก้ไขพัฒนา ทำให้ทุกฝ่ายรับรู้ เข้าใจ ร่วมกันวางแผนพัฒนาสำหรับปีต่อไป
การล่องแก่งแม่ละเมาเป็นการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ในท้องถิ่นและเป็นแหล่งเรียนรู้ในชุมชนที่อยู่ใกล้กับโรงเรียน ครูจึงนำนักเรียนชั้นอนุบาล 2 ไปศึกษาการล่องแก่ง ณ หมอกฟ้าใสรีสอร์ท ที่ให้การสนับสนุนสถานที่และวัสดุอุปกรณ์ โดยมีการจัดกิจกรรมในลักษณะของฐานการเรียนรู้เพื่อให้เด็กเรียนรู้เกี่ยวกับการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ วิธีการล่องแก่งให้ปลอดภัย และรู้จักอุปกรณ์ที่ช่วยป้องกันอันตรายในการล่องแก่ง

จุดเด่นของกิจกรรมนี้ คือ มีผู้ปกครองจากหลายสาขาอาชีพ และเจ้าหน้าที่รีสอร์ทมาร่วมเป็น “พ่อครู แม่ครู” ร่วมทำกิจกรรมกับเด็ก ๆ นอกจากความสนุกสนานที่ได้แล้ว เด็กยังได้พัฒนาทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ขั้นพื้นฐาน เช่น การตั้งคำถาม การคาดคะเน การสังเกต และลงความคิดเห็น ทำให้เกิดการเรียนรู้ผ่านการสืบเสาะหาความรู้อย่างง่าย ๆ โดยผู้ปกครองมีส่วนร่วม และที่สำคัญคือได้ตระหนักถึงคุณค่าของแหล่งเรียนรู้ในชุมชน เกิดจิตสำนึกอนุรักษ์แหล่งท่องเที่ยวในชุมชนเอาไว้ให้ยั่งยืน

“การพัฒนาเด็กที่เน้นทักษะการคิดวิเคราะห์และการสร้างองค์ความรู้ด้วยตนเอง ควรให้เด็กได้ลงมือทำผ่านประสาทสัมผัสทั้งห้า โดยบูรณาการผ่านการเล่นอย่างต่อเนื่อง เด็กจะสนใจเรียนรู้อย่างมีความสุขเมื่อได้สัมผัสกับสิ่งใหม่ ๆ แต่ทั้งนี้การพัฒนาเด็กปฐมวัยที่ได้ผลดีควรได้รับความร่วมมือจากผู้ปกครอง เพราะเด็กปฐมวัยเรียนรู้ตลอดเวลาทั้งในบ้านและที่โรงเรียน ผู้ปกครองจึงต้องมีบทบาทสำคัญในการช่วยเป็นพ่อครู แม่ครูที่บ้านด้วย” คุณครูพัชรา กล่าว

ผลสำเร็จจากความตั้งใจ ทุ่มเท ส่งผลให้ครูพัชรา ได้รับรางวัลต่าง ๆ มากมาย เช่น “หนึ่งครูแสนดี” ประจำปี 2554 ของคุรุสภา “ครูผู้สอนปฐมวัยดีเด่น” ปี 2555 ของคุรุสภา “ครูดีในดวงใจ ระดับ สพฐ.” ครั้งที่ 10 ปี 2556 และล่าสุดได้เหรียญทอง ครูผู้สอนยอดเยี่ยม ระดับก่อนประถมศึกษา รางวัลทรงคุณค่า สพฐ. (OBEC AWARDS) ระดับชาติ เมื่อเดือนกุมภาพันธ์ 2556 ที่ผ่านมา.

สินีนาฎ ทาบึงกาฬ
Credit : http://www.dailynews.co.th/education/191782