วันเสาร์ที่ 29 สิงหาคม พ.ศ. 2558

Diary Note 11 August 2015

Diary Note no.2
                                    
             บันทึกอนุทิน

                                                       
                วิชาการจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
                 Science Experiences Management for Early Childhood

Knowledge (ความรู้)
             
              พัฒนาการทางสติปัญญา (Cognitive Development)
ความหมาย (Meaning) หมายถึง ความเจริญงอกงามด้านความสามารถทางภาษา และ การคิดของแต่ละบุคคล พัฒนามาจากการมีปฏิสัมพันธ์ (Interaction) กับ สิ่งแวดล้อม (Environment)
เริ่มตั้งแต่เกิด ผลของการปฏิสัมพันธ์จะทำให้รู้จัก "ตน" (Self) เพราะ ตอนแรกเด็กเราไม่สามารถแยกตนออกสิ่งแวดล้อมได้
การมีปฏิสัมพันธ์ระหว่างบุคคลกับสิ่งแวดล้อมเป็นกระบวนการที่ต่อเนื่องอยู่ตลอดเวลาและตลอดทั้งชีวิตให้เกิดความสมดุล (Equilibrium)
การมีปฏิสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อมจะปรับปรุงเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา เพื่อให้เกิดความสมดุลกับสิ่งแวดล้อม

กระบวนการปฏิสัมพันธ์ (Interaction) ประกอบด้วย 2 ประเภท

กระบวนการดูดซึม (Assimilation)

1. Fitting a new experience it to an exisiting mental structure (schema).
เมื่อมนุษย์มีปฏิสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อมก็จะซึบซับหรือดูดซึมประสบการณ์ใหม่ให้รวมเข้าในโครงสร้างของสติปัญญา โดยจะเป็นการตีความ

กระบวนการปรับโครงสร้าง (Accommodation)

2. Revising and existing schema because of new experience.
หรือเป็นการเปลี่ยนแปลงความคิดเดิมให้สอดคล้องกับประสบการณ์

-เทคนิคการสอนTeach Techniques  
              อาจารย์ใช้เทคนิคการสอนโดยการอธิบายเกี่ยวกับรายวิชานี้และเทคนิคการใช้คำถามเพื่อทบทวนความรุ้เดิมที่นักศึกษามีและช่วยกันตอบคำถาม
-ได้ทักษะการถามและการตอบคำถาม (Has been ask and answer skills)การนำไปประยุกต์ใช้ (Adoption)
สามารถนำความรู้ที่ได้ไปใช้ในการพัฒนาการของเด็กทางด้านสติปัญญา จัดประสบการณ์ให้ตรงกับพัฒนาการของเด็ก

-การประยุกต์ใช้ Application
     ได้ทราบถึงพัฒนาการทางสติปัญญาเพื่อนำไปใช้ในการจัดการเรียนการให้เหมาะสมกับช่วงอายุของเด็ก
-ประเมินอาจารย์ (Teaching Evaluation)
อาจารย์เข้าสอนตรงต่อเวลา ใช้น้ำเสียงหนักเบาได้อย่างน่าสนใจ แต่งกายเรียบร้อยเป็นแบบอย่างที่ดีแก่นักศึกษา

เทคนิคการสอนTeach Techniques

วันเป็นวันเเรกของการเรียนอาจารย์ใช้เทคนิคการสอนโดยการอธิบายเกี่ยวกับรายวิชานี้และเทคนิคการ
ใช้คำถามเพื่อทบทวนความรุ้เดิมที่นักศึกษามีและช่วยกันตอบคำถาม

-อาจารย์สอนแบบ Child Centered เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ
-มีการใช้ Question คำถาม เพื่อให้เด็กมีการ Answer a question ตอบคำถาม

 ทักษะที่ได้The skills
              - ทักษะการตอบคำถาม
              - ทักษะการคิดวิเคราะห์
ประเมินการสอนTeaching Evaluation

Self : วันนี้เข้าเรียนตรงเวลา เเต่งกายเรียนร้อย มีสมาธิในการเรียนค่ะ
Friends : วันนี้เพื่อนมาเรียนน้อยเนื่องจากเป็นการเรียนคาบเเรกเพื่อนบางยังลงทะเบียนไม่เรียบร้อย
Teaching : วันนี้อาจารย์เข้าสอนตรงเวลา เเต่งกายเรียบร้อย อธิบายเกี่ยวกับรายวิชาได้ชัดเจน
เข้าใจได้ง่ายใช้น้ำเสียงที่นุ่มนวล สูงต่ำ หนักเบา ได้อย่างเหมาะสม

                                                                         สรุปบทความ

สอนเด็กปฐมวัยให้คิดเป็น – เปิดทำเนียบ ครูดีครูเด่น




สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยา ศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.) ได้ดำเนินโครงการบูรณาการวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ และเทคโนโลยีปฐมวัย ในรูปแบบของกิจกรรมบูรณาการสหวิชาให้เด็กได้เรียนรู้ผ่านการสืบเสาะหาความรู้ การคิด และลงมือแก้ปัญหาด้วยประสบการณ์ตรงอย่างเหมาะสมกับวัย และเป็นไปตามหลักการจัดการศึกษาปฐมวัย เหมือนอย่าง ครูพัชรา อังกูรขจร ครูชำนาญการ รร.บ้านแม่ละเมา ตำบลพะวอ อำเภอแม่สอด จังหวัดตาก ซึ่งเป็นวิทยากรแกนนำของ สสวท.ในการขยายผลอบรมครูในท้องถิ่น ได้นำแนวทางจาก สสวท.ไปจัดกิจกรรม “เด็กอนุบาลเรียนรู้วิทย์แบบบูรณาการจากการล่องแก่ง” ได้อย่างน่าสนใจ

ครูพัชรา เล่าว่า ได้รับการอบรมจาก สสวท. ไปขยายผลสู่พี่เลี้ยง และครูฝึกปฏิบัติการสอน รวมทั้งจัดอบรมให้ผู้ปกครองเรื่องการจัดประสบการณ์บูรณาการวิทยาศาสตร์ปฐมวัย หลังจากนั้นได้วางแผนการดำเนินงานร่วมกันในการกำหนดหน่วยการเรียนรู้และกำหนดตารางการปฏิบัติงานของพ่อครู แม่ครู

เมื่อวางแผนแล้วก็ไปสู่ขั้นตอนของการลงมือปฏิบัติ ซึ่งทั้งครูพัชรา ครูพี่เลี้ยง ครูปฏิบัติการฝึกการสอน พ่อครู แม่ครู ได้ช่วยกันจัดประสบการณ์การเรียนรู้โดยเน้นการคิดวิเคราะห์ ผ่านกระบวนการสืบเสาะ 4 ขั้นตอน และมีการนำผลการประเมินมาแก้ไขพัฒนา ทำให้ทุกฝ่ายรับรู้ เข้าใจ ร่วมกันวางแผนพัฒนาสำหรับปีต่อไป
การล่องแก่งแม่ละเมาเป็นการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ในท้องถิ่นและเป็นแหล่งเรียนรู้ในชุมชนที่อยู่ใกล้กับโรงเรียน ครูจึงนำนักเรียนชั้นอนุบาล 2 ไปศึกษาการล่องแก่ง ณ หมอกฟ้าใสรีสอร์ท ที่ให้การสนับสนุนสถานที่และวัสดุอุปกรณ์ โดยมีการจัดกิจกรรมในลักษณะของฐานการเรียนรู้เพื่อให้เด็กเรียนรู้เกี่ยวกับการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ วิธีการล่องแก่งให้ปลอดภัย และรู้จักอุปกรณ์ที่ช่วยป้องกันอันตรายในการล่องแก่ง

จุดเด่นของกิจกรรมนี้ คือ มีผู้ปกครองจากหลายสาขาอาชีพ และเจ้าหน้าที่รีสอร์ทมาร่วมเป็น “พ่อครู แม่ครู” ร่วมทำกิจกรรมกับเด็ก ๆ นอกจากความสนุกสนานที่ได้แล้ว เด็กยังได้พัฒนาทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ขั้นพื้นฐาน เช่น การตั้งคำถาม การคาดคะเน การสังเกต และลงความคิดเห็น ทำให้เกิดการเรียนรู้ผ่านการสืบเสาะหาความรู้อย่างง่าย ๆ โดยผู้ปกครองมีส่วนร่วม และที่สำคัญคือได้ตระหนักถึงคุณค่าของแหล่งเรียนรู้ในชุมชน เกิดจิตสำนึกอนุรักษ์แหล่งท่องเที่ยวในชุมชนเอาไว้ให้ยั่งยืน

“การพัฒนาเด็กที่เน้นทักษะการคิดวิเคราะห์และการสร้างองค์ความรู้ด้วยตนเอง ควรให้เด็กได้ลงมือทำผ่านประสาทสัมผัสทั้งห้า โดยบูรณาการผ่านการเล่นอย่างต่อเนื่อง เด็กจะสนใจเรียนรู้อย่างมีความสุขเมื่อได้สัมผัสกับสิ่งใหม่ ๆ แต่ทั้งนี้การพัฒนาเด็กปฐมวัยที่ได้ผลดีควรได้รับความร่วมมือจากผู้ปกครอง เพราะเด็กปฐมวัยเรียนรู้ตลอดเวลาทั้งในบ้านและที่โรงเรียน ผู้ปกครองจึงต้องมีบทบาทสำคัญในการช่วยเป็นพ่อครู แม่ครูที่บ้านด้วย” คุณครูพัชรา กล่าว


สินีนาฎ ทาบึงกาฬ
Credit : http://www.dailynews.co.th/education/191782
Diary Note 11 August 2015

Diary Note no.1
                                                                     บันทึกอนุทิน
                                    วิชาการจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
                                   Science Experiences Management for Early Childhood          
           Syllabus
                     - Stories about children
                     - People and the environment
                     - Nature
                     - สิ่งต่าง ๆ รอบตัวเด็ก

           Science Skills
                     - Observe Skills
                     - Skill การจำแนกประเภท
                     - Meaning Skills
                     - Skill การลงความเห็นจากข้อมูล
                     - Skill การหาความสัมพันธ์ระหว่าง สเปชกับสเปช และ สเปชกับเวลา
                     - Calculation
          วิทยาศาสตร์
                     - เรื่องราวเกี่ยวกับตัวเด็ก
                     - บุคคลและสิ่งแวดล้อม
                     - ธรรมชาติรอบตัว
                     - สิ่งต่างๆรอบตัว


            ทักษะทางวิทยาศาสตร์
                     - การจำเเนกประเภท
                    - การสื่อความหมาย
                    - การลงความเห็นจากข้อมูล
                    - การสังเกต
                    - ความสัมพันธ์สเปกกับสเปกและสเปกกับเวลา
                    - การคำนวณ


 เทคนิคการสอนTeach Techniques
วันเป็นวันเเรกของการเรียนอาจารย์ใช้เทคนิคการสอนโดยการอธิบายเกี่ยวกับรายวิชานี้และเทคนิคการ
ใช้คำถามเพื่อทบทวนความรุ้เดิมที่นักศึกษามีและช่วยกันตอบคำถาม
-อาจารย์สอนแบบ Child Centered เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ
-มีการใช้ Question คำถาม เพื่อให้เด็กมีการ Answer a question ตอบคำถาม

 ทักษะที่ได้The skills
              - ทักษะการตอบคำถาม
              - ทักษะการคิดวิเคราะห์
ประเมินการสอนTeaching Evaluation

Self : วันนี้เข้าเรียนตรงเวลา เเต่งกายเรียนร้อย มีสมาธิในการเรียนค่ะ
Friends : วันนี้เพื่อนมาเรียนน้อยเนื่องจากเป็นการเรียนคาบเเรกเพื่อนบางยังลงทะเบียนไม่เรียบร้อย
Teaching : วันนี้อาจารย์เข้าสอนตรงเวลา เเต่งกายเรียบร้อย อธิบายเกี่ยวกับรายวิชาได้ชัดเจน
เข้าใจได้ง่ายใช้น้ำเสียงที่นุ่มนวล สูงต่ำ หนักเบา ได้อย่างเหมาะสม