วันเสาร์ที่ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2558



Diary Note 25 September 2015
Dairy Note No.10
วิชาการจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
Science Experiences Management for Early Childhood

มหกรรมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ 2558
                                               (National Science and Technology Fair)
                                                ณ ชาเลนเจอร์ อิมแพคเมืองทองธานี
                                                  วันศุกร์ที่ 20 พฤศจิกายน 2558







ภาพกิจกรรมและบรรยากาศในงาน


                                     

                                     
รูปภาพการไปดูการเกิดฝน






เทคนิคการสอน (Technical Education)

ในวันนี้อาจารย์ให้นักศึกษาไปทัศนศึกษาหาความรู้นอกห้องเรียนในงาน มหกรรมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ 2558 (National Science and Technology Fair) ณ ชาเลนเจอร์ อิมแพคเมืองทองธานี
ทักษะที่ได้รับ (Gain Skills)

-ได้ทักษะการสังเกต (Observe Skills) 
-ได้ทักษะการศึกษาหาความรู้นอกห้องเรียน
-ทักษะการทำงานเป็นกลุ่ม
-ทักษะการแลกเปลี่ยนความรู้
การนำความรู้ไปประยุกต์ใช้ (Adoption)
สามารถทำความรู้ที่ได้จากการดูงานมหกรราวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติไปประยุกต์ใช้ในการเรียน และการสอนได้ในอนาคต

ประเมินอาจารย์ (Teaching Evaluation
อาจาย์ให้ไปหาความรู้เพิ่มเติมจากการไปดูงานนิทรรศการวันวิทยาศาสตร์






Diary Note 25 September 2015
Dairy Note No.9
วิชาการจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
Science Experiences Management for Early Childhood



กิจกรรม (Activities)

  1. การทำบูลเบอรี่ชีสพาย
วัตถุดิบ
  1. ครีมชีส
  2. โยเกิร์ต
  3. น้ำมะนาว
  4. น้ำตาลไอซิ่ง
  5. คุ้กกี้โอริโอ้
  6. เนยละลาย
  7. บูลเบอรี่
  8. เยลลี่
  9. ช็อคโกแลตชิพ
  10. อุปกรณ์

  11. ตะกร้อตีไข่
  12. ถ้วย
  13. ถุงพลาสติก
  14. ช้อน
ขั้นตอนการทำ
แบ่งเป็น 3 ฐาน ดังนี้


ฐานที่ 1 นำโอริโอ้ใส่ถุงพลาสติก บดให้ละเอียด จากนั้นก็นำไปผสมกับเนยที่ละลายไว้







ฐานที่ 2 นำครีมชีสไปผสมกับโยเกิร์ต น้ำตาลไอซิ่ง และผสมน้ำมะนาวเล็กน้อย คนให้เข้ากัน แล้วตักใส่ถ้วย





ฐานที่ 3 ราดด้วยบูลเบอรี่ ช็อคโกแลตชิพ และตกแต่งด้วยเยลลี่ให้สวยงาม


การทำบัวลอย

ขั้นตอนการทำ
แบ่งออกเป็น 3 ฐาน ดังนี้

ฐานที่ 1 ผสมแป้งและสีผสมอาหารเข้าด้วยกัน



ฐานที่ 2 ปั้นแป้งเป็นลูกกลม ๆ ขนาดพอประมาณ



                                                       


ฐานที่ 3 นำแป้งที่ได้ไปใส่ในน้ำที่ต้มสุก เมื่อแป้งลอยขั้นให้ตักออก แล้วนำไปต้ม            
                                                                                         
      

การทำไอศครีมวัตถุดิบ
  1. นมสด
  2. นมข้นหวาน
  3. เกลือ
  4. น้ำแข็ง
  5. ท็อปปิ้งสำหรับตกแต่ง
  6. วิปปิ้งครีม
  1. อุปกรณ์
  2. ถ้วย
  3. ถุงซิปล็อคใบใหญ่ และ ใบเล็ก
  4. ตะกร้อตีไข่
เตรียมอุปกรณ์การทำไอศครีมนม

                         


ขั้นตอนการทำ
แบ่งเด็กออกเป็นกลุ่ม แจกอุปกรณ์และทำไปพร้อม ๆ กัน




ขั้นที่ 1 นำนมสด นมข้นหวาน เกลือ วิปปิ้งครีม ใส่ลงไปในถ้วยและคนให้เข้ากัน
 
                                          
ขั้นที่ 2 นำส่วนผสมที่ได้ไปใส่ในถุงซิปล็อคใบเล็ก


                                       
ขั้นตอนที่ 3 เมื่อเส็จแล้วนำไปใส่ถุงซิปล๊อกขนาดใหญ่ผสมเกลือ

                                     














































ขั้นที่ 4 คนหรือเขย่าให้ส่วนผสมทั้งหมดแข็งและจับเป็นก้อน


                                        

ขั้นที่ 5 เมื่อไอศครีมแข็งตัว ตักใส่ถ้วยและตกแต่งให้สวยงาม



                                     




เทคนิคการสอน (Technical Education)
อาจารย์เปิดโอกาสให้นักศึกษาได้ลงมือกระทำด้วยตนเอง
เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ
สอนโดยใช้การทดลอง
สอนโดยใช้เทคนิคการยกตัวอย่าง

ทักษะที่ได้รับ (Gain Skills)-ได้รับทักษะการสังเกต Observe Skill
-ได้รับทักษะการทำงานร่วมกัน Team Work
-ได้รับทักษะความคิดสร้างสรรค์
-ทักษะการตอบคำถาม
-ทักษะการทำอาหาร
การนำความรู้ไปประยุกต์ใช้ (Adoption)

สามารถนำความรู้ที่ได้จาการทำคุกกิ้ง ไปใช้ในการสอนและการจัดกิจกรรมกับเด็กปฐมวัย ในการทำขนมในห้องเรียน
ประเมินอาจารย์ (Teaching Evaluation)
อาจารย์เปิดโอกาสให้เด็กได้ลงมือกระทำสิ่งต่าง ๆ ด้วยตัวเอง แต่อาจารย์ให้คำแนะนำอยู่ห่าง ๆ อีกทั้งยังเป็นบุคคลที่เตรียมของให้นักศึกษาได้ทำได้อย่างสะดวกสบายและคอยชี้แนะในเรื่องที่ทำผิดพลาดอีกด้วยค่ะ


Diary Note 25 September 2015
Dairy Note No.8
วิชาการจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
Science Experiences Management for Early Childhood


อาจารย์และนักศึกษาร่วมอภิปรายการเขียนแผนการสอน Cooking แผนการทดลอง
การเขียนแผนประสบการณ์จะไปกอบไปด้วย
  1. วัตถุประสงค์ ;การเขียนวัตถุประสงค์นั้นต้องเขียนให้ครอบคลุมทั้ง 4 ด้าน คือ ด้านร่างกาย ด้านอารมณ์-จิตใจ ด้านสังคม และด้านสติปัญญา และการเขียนวัตถุประสงค์นั้นไม่ควรใช้คำกริยาซ้อนคำกริยา
  2. สาระที่ควรเรียนรู้ เป็นส่วนที่เป็นเนื้อหาที่เราจะสอน ความรู้ต่าง ๆ 
  3. ประสบการณ์สำคัญ; คือสิ่งที่เด็กได้จากการทำกิจกรรม ต้องครอบคลุมทั้ง 4 ด้าน ในส่วนนี้สามารถดูได้ในหนังสือหลักสูตรการศึกษาปฐมวัย ปี พ.ศ. 2546
  4. กิจกรรมการเรียนรู้ ;ในส่วนนี้จะแบ่งออกเป็น 3 ขั้น ดังนี้คือ 1. ขั้นนำ 2. ขั้นสอน 3. ขั้นสรุป
  5. สื่อ/แหล่งการเรียนรู้;  คือสิ่งที่เราใช้ในการสอนไม่ว่าจะเป็นเพลง หรืออุปกรณ์ต่าง ๆ 
  6. การวัดและการประเมินผล;  ในการสอนแต่ละครั้งเราควรวัดและประเมินผลเด็ก ซึ่งในการวัดและประเมินผลนั้นมีหลายวิธี เช่น การสังเกต การตอบคำถาม การประเมินผลจากชิ้นงาน เป็นต้น
  7. บูรณาการ;  ในการสอนเราสามารถบูรณาการวิชาต่าง ๆ เข้ามาในการสอนได้



เทคนิคการสอน (Technical Education)
อาจารย์ใช้เทคนิคการสอนที่หลากหลาย
มีการ Ask a question เพื่อให้นักศึกษาได้เกิดกระบวนการคิด
เริ่มจากหลักการ และนำมาสรุป
ทักษะที่ได้รับ (Gain Skills)
has been critical thinking skill
has been ask and answer skill

การนำความรู้ไปประยุกต์ใช้ (Adoption)
สามารถนำความรู้ที่ได้ไปใช้ในการเขียนแผน เพื่อเอาไว้ใช้ในอนาคต
ประเมินอาจารย์ (Teaching Evaluation)

อาจารย์เข้าสอนตรงเวลา แต่งกายสุภาพเรียบร้อย เป็นตัวอย่างให้แก่นักศึกษา ในการสอนนั้นอาจารย์ได้เปิดโอกาสให้เด็กได้ตอบคำถาม และมีทักษะการสอนที่หลากหลาย
Diary Note 25September 2015
Dairy Note No.7
วิชาการจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
Science Experiences Management for Early Childhood


    1.กิจกรรมดอกไม้บาน
       ขั้นตอน
อาจารย์แจกกระดาษาให้คนละ 1 แผ่น ตัดกระดาษให้เป็นรูปดอกไม้ จากนั้นให้นำไปลอยในน้ำ และภายในกลุ่มต้องมี 1 คน เป็นคนจดบันทึกพฤติกรรมของเพื่อนขณะเพื่อนทำกิจกรรม


      สรุป
ดอกไม้ที่พับไว้นั้นบานออก เนื่องจาก น้ำดูดซึมเข้าไปในช่องว่างของกระดาษจึงทำให้กลีบดอกไม้นั้นบานออก และสีของดอกไม้ที่เราระบายนั้นเปรียบเสมือนสมอง น้ำที่โดนสี เหมือนการเกิดการเรียนรู้ และสีที่เกิดใหม่ เปรียบเสมือน ความรู้ใหม่ที่ได้รับ ส่วน ดอกไม้จม ก็เป็นเพราะว่า น้ำอยู่ทั่วพื้นที่ ทำให้ช่องว่างไม่มีเลยทำให้ดอกไม้ที่ลอยอยู่นั้นจมลงไป





      2. กิจกรรมรูไหนพุ่งไกลกว่ากัน

           ขั้นตอน
นำขวดน้ำมาเจาะรูในลักษณะ บน กลาง ล่าง จากนั้นนำสก็อตเทปมาอุดรูไว้แล้วใส่น้ำลงไป นำน้ำใส่ลงไปในขวด และดึงสก็อตเทปออกพร้อม ๆ กัน และสังเกตการเปลี่ยนแปลง


สรุป
เนื่อง จากน้ำตามหลักความเป็นจริง น้ำจะไหลจากที่สูงลงสู่ที่ต่ำเสมอ เมื่อเราเทน้ำใส่ขวดที่มีสายยางต่ออยู่ จึงทำให้น้ำไหนลงไปสู่ปลายสาย ยิ่งเรานำปลายสายอยู่ต่ำกว่าต้นสายมากเท่าไหร่ ก็จะทำให้น้ำพุ่งสูงขึ้นมากเท่านั้น



3 กิจกรรมเป่าเชือกจากหลอด
    ขั้นตอน
ในไหมพรมสอดเข้าไปในหลอดแล้ว นำปลายเชือกทั้งสองมาผูกกัน จากนั้นให้นักศึกษาเป่าลมเข้าไปในหลอด




สรุป
ลมที่เป่าผ่านหลอดอย่างรวดเร็ว จึงทำให้ไหมพรมส่วนที่ห้อยอยู่เคลื่อนที่เป็นวงกลมได้



4 กิจกรรมจากแรงดันอากาศ (ลูกยาง)


ขั้นตอน
นำกระดาษ A4 มาพับให้ได้ 8 ช่อง ตัดออกมา 1 อัน จากนั้น ใช้กรรไกรตัดตรงกลางครึ่งนึง แล้วพับกระดาษไปคนละข้างดังรูป เสร็จแล้วพับส่วนล่างของกระดาษเล็กน้อย และใล้คลิปมาติดส่วนด้านล่างไว้






สรุป
เมื่อ เราโยนลูกยางที่เราทำขึ้นไปข้างบน อากาศที่เคลื่อนที่จะเข้ามาพยุงปีกทั้งสองข้างที่เราพับไว้ จึงทำให้วัตถุเคลื่อนที่อยู่บนอากาศในนานขึ้นและตกลงสู่พื้นอย่างช้าๆ



ทคนิคการสอน (Technical Education)

มีการ Ask a question เพื่อให้เด็กได้เกิดกระบวนการทางความคิดเพื่อหาคำตอบ
มีการยกตัวอย่างให้นักศึกษาเพื่อให้นักศึกษาได้เข้าใจได้ง่ายยิ่งขึ้น
ให้นักศึกษาได้ลงปฏิบัติ ทดลอง ทำด้วยตนเอง

ทักษะที่ได้รับ (Gain Skills)
ทักษะในการถามและตอบคำถาม Has been ask and answer skill
ทักษะในการคิดวิเคราะห์ Has been Critical thinking skill
ทักษะในการสังเกต Observe skill
ทักษะการทำงานเป็นกลุ่ม Team work
การนำความรู้ไปประยุกต์ใช้ (Adoption)
สามารถนำความรู้ที่จากการทดลองทำกิจกรรมต่าง ๆ ไปใช้ในการจัดกิจกรรมในห้องเรียนของเด็กปฐมวัย
ประเมินอาจารย์ (Teaching Evaluation)
ในขณะที่สอนอาจารย์จะยกตัวอย่างเสมอ และถามคำเด็กเพื่อให้เด็กได้เกิดกระบวนการคิดและเพื่อให้เด็กเข้าใจยิ่งขึ้น เกี่ยวกับเนื้อหาที่เรียน เปิดโอกาสให้นักศึกษาได้แสดงความคิดอย่างเต็มที่ อีกทั้งอาจารย์ยังเข้าสอนตรงเวลา มีเทคนิคการสอนที่หลากหลาย

วันศุกร์ที่ 27 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558


Diary Note 22 September 2015
Dairy Note No.6
วิชาการจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
Science Experiences Management for Early Childhood




นำเสนอวิจัย


เลขที่ 5 การจัดกิจกรรมการส่งเสริมทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
เลขที่ 6 การคิดเชิงเหตุผลของเด็กปฐมวัยในการจััดกิจกรรมทางวิทยาศาสตร์


นำเสนอโทรทัศครู



เลขที่ 7 แรงตึงผิว
เลขที่ 8 สอนเด็กอย่างไรให้มีจิตวิทยาศาสตร์
เลขที่ 9 จุดประกายนักวิทยาศาสตร์


นำเสนอของเล่นวิทยาศาสตร์
  1. กลองแขก เป็นการนำเสนอเรื่องของเสียง 
  2. คานหนังสติ๊กเป็นการนำเสนอเรื่องของพลังงาน 
  3. ปี่กระป๋องเป็นการนำเสนอในเรื่องของเสียง 
อาจารย์ให้แบ่งกลุ่มตามสาระการเรียนรู้ แล้วให้นักศึกษาเลือกเนื้อหาที่จะสอนให้อยู่ในสาระที่เด็กควรจะเรียนรู้


สาระที่ได้คือ สิ่งต่างๆรอบตัว
เรื่องยานพาหนะ
ประเภท


  1. น้ำ ได่แก่ เรือ 
  2. บก ได้แก่ รถจักยานยนต์ รถจักยาน รถยนต์ 
  3. อากาศ ได้สแก่ เครื่องบิน เฮลิคอปเตอร์
ลักษณะ

  1. บก ได้แก่ เครื่องยนต์ มี 2ล้อ 3 ล้อ 4 ล้อ 
  2. น้ำ ได้แก่ โครงเรือเหล็ก ใบพัด 
  3. อากาศ ได้แก่ ปีก ล้อ 
การรักษาดูแล
  1. ล้างทำความสะอาด 
  2. เช็คลมยาง เช็คสภาพรถ 
  3. ชาตแบตเตอร์รี่ 
  4. ซ่อมแซม 
ข้อควรพึงระวัง

  1. รัดเข็ดขัดนิรภัย 
  2. ใส่หมวกกันน๊อก 
  3. ใส่เสื้อชูชีพ 
  4. ไม่ประมาท 
หลังจาทำกิจกรรมเส็จเพื่อนๆช่วยกันคิดของเล่นที่สามารถใช้ในการจัดการเรียนรู้

  1. ของเล่นทดลอง 
  2. ของเล่นเข้ามุม 
  3. ของเล่นที่เด็กทำได้ 
เทคนิคการสอน (Technical Education)


มีการ Ask a question เพื่อให้เด็กได้เกิดกระบวนการทางความคิดเพื่อหาคำตอบ
ใช้สื่อที่ทันสมัยในการสอน โดยการใช้ Power Point
มีการยกตัวอย่างให้นักศึกษาเพื่อให้นักศึกษาได้เข้าใจได้ง่ายยิ่งขึ้น


ทักษะที่ได้รับ (Gain Skills)


Has been ask and answer skill
Has been Critical thinking skill


การนำความรู้ไปประยุกต์ใช้ (Adoption)

สามารถนำความรู้ที่ได้เกี่ยวกับทฤษฎีต่าง ๆ และหลักการไปใช้ในการจัดประสบการณ์หรือจัดกิจกรรมต่าง ๆ ให้ตรงตามพัฒนาการของเด็กได้อย่างถูกต้อง


ประเมินอาจารย์ (Teaching Evaluation)

ในขณะที่สอนอาจารย์จะยกตัวอย่างเสมอ และถามคำเด็กเพื่อให้เด็กได้เกิดกระบวนการคิดและเพื่อให้เด็กเข้าใจยิ่งขึ้นเกี่ยวกับเนื้อหาที่เรียน
อาจารย์เข้าสอนตรงเวลา เปิดโอกาสให้เด็กได้แสดงความคิดเห็นได้อย่างเต็มที่

วันอาทิตย์ที่ 15 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558

Diary Note 15 September 2015
Dairy Note No.5
วิชาการจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
Science Experiences Management for Early Childhood


การทำงานของสมอง

  การทำงานของสมอง ช่วงแรกเกิด - 2ปี เด็กจะใช้ประสาทสัมผัสทั้ง 5 ในการรับรู้วิธีการรับรู้ของเด็ก คือการเล่นโดยการผ่านประสบการณ์จริง ลงมือกระทำจริงผ่านประสาทสัมผัสทั้ง 5
 
หลักการ/แนวคิดสู่การปฏิบัติการพัฒนาเด็ก

กีเซล

พัฒนาการของเด็กเป็นไปอย่างมีแบบแผนไม่ควรเร่งรีบการเรียนรู้ของเด็กเกิดจากการเคลื่อนไหว การใช้ภาษา (language) การปรับตัวเข้าสู่สังคมบุคคลรองข้างการปฏิบัติการพัฒนาเด็กจัดกิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะให้เด็กได้เล่นกลางแจ้งจัดกิจกรรมสร้างสรรค์ ฝึกการใช้มือและประสานสัมพันธ์ระหว่างมือและตา จัดกิจกรรมให็เด็กได้ฟัง ได้ท่องจำ นิทาน ร้องเพลง
ฟรอย์ (Freud)
ประสบการณ์ในวัยเด็กส่งผลต่อบุคลิกภาพของคนเราเมื่อเติบโตการปฏิบัติการพัฒนาเด็กครูเป็นแบบอย่างที่ดีให้แก่เด็กจัดกิจกรรมเป็นขั้นตอนจัดสิ่งแวดล้อม บ้าน และโรงเรียน เพื่อส่งเสริมพัฒนบุคลิกภาพ
อิริสัน (Erikson)
ถ้าเด็กอยู่ในสังคมที่เด็กพอใจ เด็กจะมองโลกในแง่ดี มีความเชื่อมั่นถ้าเด็กอยู่ในสงคมที่ไม่ดี เด็กจะมองโลกในแง่แย่ ขาดความไว้วางใจการปฏิบัติการพัฒนาเด็กจัดกิจกรรมให้เด็กได้ประสบความสำเร็จ พึงพอใจในสภาพแวดล้อมที่ดีจัดบรรยากาศในห้องเรียน ให้เด็กได้มีโอกาศ สร้างปฏิสัมพันธ์
ดิวอี้ (Dewey)
เด็กเรียนรู้โดยการกระทำ Learning by doingการปฏิบัติการพัฒนาเด็กจัดกิจกรรมเตรียมความพร้อม ให้ความรัก ให้เวลา และให้เด็กได้เรียนรู้ผ่านประสบการณ์จริง
เปสตาลอสซี่ (Pestalozzi)
ความรักเป็นสิ่งสำคัญที่จะทำให้เด็กเกิดการเรียนรู้ ไม่ควรบังคับเด็กการปฏิบัติการพัฒนาเด็กจัดเตรียมความพร้อมให้ความรักให้เวลา
เฟรอเบล (Froeble)
ส่งเสริมพัฒนาการตามธรรมชาติ
เอลคายน์ (Elkind)
การเร่งเด็กให้เรียนรู้แต่เล็กเป็นอันตราย เด็กควรมีโอกาสเล่นและเลือกกิจกรรมการเล่นด้วยตนเอง จัดบรรยากาสให้เด็กได้มีโอกาสเล่นและเลือกกิจกรรมด้วยตัวเองการเรียนรู้อย่างมีความสุขการเรียนรู้จาการคิดและปฏิบัติจริงการเรียนรู้แบบองค์รวมครอบคลุมพัฒนาการทุกด้าน
สรุป
พัฒนาการเด็กให้ครบทุกด้าน เน้นให้เด็กช่วยเหลือตนเองและอยู่ร่วมกับผู้อื่นอย่างมีความสุข กิจกรราที่จัดต้องมีความสมดุลยึดเด็กเป็นสำคัญและต้องประชาสัมพันธ์กับครอบครัวและชุมชน
เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ คือ เด็กได้เลือกกิจกรรมที่เด็กสนใจและครูมีหน้าที่จัดบรรยากาศในห้องเรียนให้เอื้ออำนวยกับการเรียนรู้และลงมือกระทำด้วยตนเอง

การเรียนรู้จาการคิดและปฏิบัติจริง
การเรียนรู้จาการคิดและปฏิบัติจริงเรียนรู้โดยผ่านประสาทสัมผัสทั้ง 5พัฒนาทักษะการสังเกต การเปรียบเทียบ การจำแนก การสรุปความคิดรวบยอดกิจกรรมโครงการ กิจกรรมประจำวัน การเล่น
แนวคิดพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์

  •  การเปลี่ยนแปลง
  •  ความแตกต่าง 
  •  การปรับตัว
  •  การพึ่งพาอาศัยกัน
  •  ความสมดุล

การศึกษาวิธีการทางวิทยาศาสตร์

  • กำหนดปัญหา
  • ขั้นตั้งสมมุติฐาน
  • ขั้นรวบรวมข้อมูล
  • ขั้นลงข้อสรุป

เจตคติทางวิทยาศาสตร์

  1. ความอยากรู้อยากเห็น
  2. ความเพียรพยายาม
  3. ความมีเหตุผล
  4. ความซื่อสัตย์
  5. ความมีระเบียบและรอบคอล
  6. ความใจกว้าง

เทคนิคการสอน (Technical Education)
มีการ Ask a question เพื่อให้เด็กได้เกิดกระบวนการทางความคิดเพื่อหาคำตอบ
ใช้สื่อที่ทันสมัยในการสอน โดยการใช้ Power Pointมีการยกตัวอย่างให้นักศึกษาเพื่อให้นักศึกษาได้เข้าใจได้ง่ายยิ่งขึ้น
ทักษะที่ได้รับ (Gain Skills)
Has been ask and answer skill
Has been Critical thinking skill
การนำความรู้ไปประยุกต์ใช้ (Adoption)
สามารถนำความรู้ที่ได้เกี่ยวกับทฤษฎีต่าง ๆ และหลักการไปใช้ในการจัดประสบการณ์หรือจัดกิจกรรมต่าง ๆ ให้ตรงตามพัฒนาการของเด็กได้อย่างถูกต้อง
ประเมินอาจารย์ (Teaching Evaluation)
ในขณะที่สอนอาจารย์จะยกตัวอย่างเสมอ และถามคำเด็กเพื่อให้เด็กได้เกิดกระบวนการคิดและเพื่อให้เด็กเข้าใจยิ่งขึ้นเกี่ยวกับเนื้อหาที่เรียน
อาจารย์เข้าสอนตรงเวลา เปิดโอกาสให้เด็กได้แสดงความคิดเห็นได้อย่างเต็มที่

วันพฤหัสบดีที่ 17 กันยายน พ.ศ. 2558

Diary Note 8 September 2015
Diary Note No.4

Substance

                                    

กิจกรรมพับกระดาษให้เกี่ยวข้องวิทยาศาสตร์สร้างสรรค์

  1. อาจารย์แจกกระดาษ A4 มาให้คนล่ะหนึ่งแผ่นจากนั้นนำเสนอรายบุคคล
ให้นักศึกษาสร้างชิ้นงานที่เกี่ยวกับวิทยาศาสตร์ซึ่งมาจากกระดาษที่ว่างเปล่าหนึ่งแผ่น
ซึ่งดิฉันได้สร้างกังหันลมและในความคิดของดิฉันกังหันลมสามารถนำมาสอนเด็กปฐมวัยได้เพราะในการสอนเด็กปฐมววัยเรางสามานรถสอนให้เด็กได้เห็นได้ลงมือทำและปฏิบัติ

  1. ลม (wind) หมายถึง อากาศที่เคลื่อนที่
  2. อากาศ (air) หมายถึง สิ่งทีีมองไม่เห็นแต่ มีตัวตน และต้องการที่อยู่ ซึ่งถ้าอากาศเคลื่อนที่จะกลายเป็นลม และลมก็จะทำให้เกิดพลังงาน (energy)
  3. แสง (light) จะไม่สามารถผ่านวัตุได้ จึงทำให้เกิดเป็นเงา ซึ่งแสงจะเดินทางเป็นเส้นตรง


ทฤษฏีของเพียเจต์ เด็กเรียนรู้ผ่านประสาทสัมผัสทั้ง 5
ขบวนการปรับเข้าสู่โครงสร้าง (Assimilation) หมายถึง การที่เด็กนำเอาความรู้ใหม่ เข้าไปผสมผสากลมกลืนกับครวามรู้เดิมที่มีอยู่
การจัดประขยายโครงสร้าง (Accommodation)  หมายถึง การนำความรู้ใหม่ที่ได้รับไปปรับปรุงความคิิดให็เข้ากับสภาพแวดล้อมได้อย่างเหมาะสม
Learning by Doing นักการศึกษาคือ John Dewy

เทคนิคการสอน (Technical Education)
อาจารย์ใช้เทคนิคการสอนที่หลากหลาย
มีการ Ask a question เพื่อให้นักศึกษาได้เกิดกระบวนการคิด
เริ่มจากหลักการ และนำมาสรุป

ทักษะที่ได้รับ (Gain Skills)
has been critical thinking skill
has been ask and answer skill
has been creative thinking skill

การนำความรู้ไปประยุกต์ใช้ (Adoption)
สามารถนำความรู้ที่ได้ไปประดิษฐ์ของเล่นในหน่วยวิทยาศตร์สำหรับเด็กปฐมวัยได้ รวมถึงหลักการสอนต่าง ๆ การบูรณการ อย่างไรเพื่อให้เด็กได้รับความรู้ในเรื่องของวิทยาศาสตร์

ประเมินอาจารย์ (Teaching Evaluationอาจารย์เข้าสอนตรงเวลา แต่งกายสุภาพเรียบร้อย เป็นตัวอย่างให้แก่นักศึกษา ในการสอนนั้นอาจารย์ได้เปิดโอกาสให้เด็กได้ตอบคำถาม และมีทักษะการสอนที่หลางหลาย

การเตรียมอุปกรณ์ในการทำกังหันลม

อุปกรณ์

1.กระดาษสี
2.ไม้ไผ่
3.หลอดกาแฟ
4.กาว

วิธีทำ

การเตรียมแกนมือ

นำไม้ไผ่ความยาวประมาณ 20 ซม. มาเหลาให้กลม โดยปรายด้านหนึ่ง ใหญ่กว่าปลายอีกด้านหนึ่ง โดยปลายด้านที่ใหญ่อาจจะมีเส้นผ่าศูนย์กลาง ประมาณ 3 มม. ปลายด้านเล็กอาจจะมีเส้นผ่าศูนย์กลาง 1.5-2 มม.

การเตรียมตัวกังหันกระดาษ
1.ทำได้โดยนำกระดาษสีที่เตรียมไว้ มาตัดให้เป็นรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัส เช่น ขนาด 10 ซม.


2.ใช้มีดหรือกรรไกรตัดตามแนวเส้นทแยงมุมเข้ามาจากมุมทั้ง 4 ด้าน จนถึงจุดที่ห่างจากจุดศูนย์กลางประมาณ 0.5 ซม. จากทุกด้านซึ่งจะทำให้ได้ลักษณะเป็นสามเหลี่ยม 4 อัน โดยแต่ละอันมีฐานอยู่ที่ด้านแต่ละด้านของสี่เหลี่ยมจัตุรัสเดิม แล้วตรงจุดกึ่งกลางนี้ เจาะรูกลมที่เสียบกับไม้แล้วหลวมๆ


3.เจาะรูที่มุมฐานสามเหลี่ยมๆ ละรู



นำหลอดกาแฟ ตัดเป็นรูปสี่เหลี่ยมขนาดเล็ก (ถ้าเป็นกระดาษแข็งอาจตัดเป็นรูปวงกลมก็ได้)จำนวน 2 แผ่น

การประกอบ
1.นำส่วนของหลอดกาแฟสี่เหลี่ยมที่เตรียมไว้เสียบทะลุแกนถือ ดันลึกเข้าไปประมาณ 3 ซม. ให้อัดแน่นกันแกนถือไว้
2.นำแผ่นกระดาษตัวกังหันที่เตรียมไว้ สอดใส่เข้าไปยังปลายแหลมของแกนถือ โดยผ่านรูของกระดาษที่เจาะเตรียมไว้
3.พับส่วนของสามเหลี่ยมที่มีรูมาเสียบเข้ากับแกนถือ เรียงกังไปจนครบทั้งหมด และติดกาวตามชั้นที่ซ้อนทับกัน


4.ท้ายที่สุดนำหลอดกาแฟที่เตรียมไว้อีกแผ่น มาเสียบอัดแน่นกับแกนถือ เหนือกังหันกระดาษอีกชั้นหนึ่ง
การเตรียมตัวกันเลื่อนของกันหัน
นำหลอดกาแฟ ตัดเป็นรูปสี่เหลี่ยมขนาดเล็ก (ถ้าเป็นกระดาษแข็งอาจตัดเป็นรูปวงกลมก็ได้)จำนวน 2 แผ่น

การประกอบ
1.นำส่วนของหลอดกาแฟสี่เหลี่ยมที่เตรียมไว้เสียบทะลุแกนถือ ดันลึกเข้าไปประมาณ 3 ซม. ให้อัดแน่นกันแกนถือไว้
2.นำแผ่นกระดาษตัวกังหันที่เตรียมไว้ สอดใส่เข้าไปยังปลายแหลมของแกนถือ โดยผ่านรูของกระดาษที่เจาะเตรียมไว้
3.พับส่วนของสามเหลี่ยมที่มีรูมาเสียบเข้ากับแกนถือ เรียงกังไปจนครบทั้งหมด และติดกาวตามชั้นที่ซ้อนทับกัน


4.ท้ายที่สุดนำหลอดกาแฟที่เตรียมไว้อีกแผ่น มาเสียบอัดแน่นกับแกนถือ เหนือกังหันกระดาษอีกชั้นหนึ่ง



วิธีเล่น
เด็กมักจะใช้ถือแล้ววิ่งปะทะกับลมทำให้กังหันกระดาษหมุนได้


ดูเพิ่ม http://www.trueplookpanya.com/new/cms_detail/knowledge/18929/